วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน

จรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน

หน้าที่ของสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ

2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม

3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน

4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้

1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ

2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน

3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา

จรรยาบรรณของสื่อมวลชน
จรรยาบรรณของสื่อมวลชน หมายถึง หลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน มารวมตัวกันเป็นสมาคมวิชาชีพ สร้างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนให้มีความรับผิดชอบ

ความสำคัญของจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน

1. เป็นแนวทางในการควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

2. ทำให้นักสื่อสารมวลชนและวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้รับการยินยอมยกย่อง ให้เกียรติและศรัทธาจากประชาชน

3. ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสื่อสารมวลชนเกิดความภูมิใจในอาชีพตน

4. เป็นเกราะป้องกันเสรีภาพของสื่อมวลชน

5. เป็นหลักให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพนักสื่อสารมวลชน

6. ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม

7. เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนา

สื่อสารมวลชนคืออะไร

  • คือ การสื่อสารที่มุ่งไปสู่ผู้รับสารจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างกันและไม่เป็นที่รู้จักของผู้ส่งสาร สารจะถูกส่งไปยังผู้รับสารได้อย่างรวดเร็วในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ส่งสารมักจะดำเนินกิจการภายใต้รูปขององค์การ (Charles R. Wright)
  • เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นส่วนตัว (Impersonal) และสื่อสารโดยทางอ้อม (Indirect ) โดยมุ่งไปสู่คนจำนวนมาก (Michael Burgoon)
  • คือกระบวนการของการส่งข่าวสาร (Information) ความคิด (Ideas) และทัศนคติ (Attitudes) ไปสู่ผู้รับสาร จำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน โดยการใช้สื่อที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการนี้ (Warren K. Agee)

จากคำจำกัดความข้างต้น สรุปได้ว่า "การสื่อสารมวลชน เป็นกระบวนการของการสื่อสารไปยังคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน หรือในเวลาที่ใกล้เคียงกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อ"

ลักษณะของการสื่อสารมวลชน

S M C R

1. ลักษณะ = ของผู้ส่งสาร (S)
- ผู้ส่งสารในระบบการสื่อสารมวลชน จะมีลักษณะเป็นองค์กร
- ผู้ส่งสารจะปฏิบัติงานในรูปขององค์การที่สลับซับซ้อน
- ดำเนินการโดยการแบ่งงานกันทำอย่างกว้างขวาง
- มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง

บทบาทของนักสื่อสารมวลชน (ผู้ส่งสาร)
1. Messenger ผู้แจ้งข่าวสาร
2. Watchdog สุนัขเฝ้าบ้าน
3.Intermediary ตัวกลาง แหล่งข่าวกับแหล่งข่าว แหล่งข่าวกับผู้รับสาร
4. Relay ตัวเชื่อม
5. Gatekeeper ผู้เฝ้าประตู

2. ลักษณะของสาร (M)
1. ลักษณะสาธารณะ (Public)
2. ลักษณะความรวดเร็ว (Rapid)
3. ลักษณะของความไม่ยั่งยืน (Transient)

3. ลักษณะของสื่อ Mass Media (C)
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน เรียกว่า สื่อมวลชนได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ ภาพยนตร์ โทรทัศน์

ลักษณะของสื่อมวลชน
1. สามารถเข้าถึงผู้รับสารจำนวนมาก
2. ความรวดเร็วในการสื่อสารกับคนจำนวนมาก
3. บรรจุเนื้อหาหลากหลาย
4. นำสารไปสู่ประสาทสัมผัสของผู้รับสารได้จำกัด
5. ได้รับการสื่อสารกลับที่จำกัด
6. ให้ข่าวสารและความรู้มากกว่าที่จะเปลี่ยแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมของผู้รับสาร

4. ลักษณะของผู้รับสาร (R)
1. ผู้รับสารจำนวนมาก
2. ผู้รับสารมีความแตกต่างกัน
3. ความไม่รู้จักกัน

ลักษณะความแตกต่างของมวลชนผู้รับสาร
1. ลักษณะทางจิตวิทยา : ลักษณะทางจิตใจของ ผู้รับสาร (Psychographic of Audience)ความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยม นิสัยการใช้สื่อมวลชน
2. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ : ลักษณะด้าน อายุ เพศ การศึกษา ศาสนา ภูมิลำเนา สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคม (Demographic of Audience)
- รายได้
- อาชีพ
- เชื้อชาติ

ความสำคัญของการสื่อสารมวลชน

การสื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนที่การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารแบบเห็นหน้าค่าตากัน (Face to Face Communication) และการสื่อสารแบบบอกปากต่อปาก (Word of Mouth Communication)
การสื่อสารมวลชน ทำให้สามารถทำการสื่อการกันได้โดยไม่ถูกจำกัดในเรื่องจำนวนคน เวลา และระยะทาง

1. ความสำคัญต่อกระบวนการสังคม (Social Process) โดยการเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนระบบสถาบันต่าง ๆของสังคมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้รวมทั้งสืบเสาะเบาะแสความไม่ดีไม่งามของสังคม พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

2. ความสำคัญต่อข่าวสารโดยการนำข่าวสารทุกประเภทมาถึงประชาชนเพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสาร (Information Society) ข่าวสารเป็นเครื่องมือในการสนทนาในชีวิตประจำวัน และเป็นข้อมูลในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจ

3. ความสำคัญต่อวัฒนธรรม โดยการนำและถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ให้ปรากฏอย่างแพร่หลาย ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นและลดความขัดแย้งระหว่างกันได้

4. ความสำคัญต่อความเป็นสากลโดยการเผยแพร่ข่าวสารอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทำให้ผู้คนสามารถรับรู้ข่าวสารได้พร้อมๆ กันทั่วโลก (Globalization) ความสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไปสู่กลุ่มประชาชนผู้บริโภค

หน้าที่ของสื่อมวลชน

สื่อมวลชน (mass media) เป็นสื่อที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งหรือจากองค์กรหนึ่ง ไปยังมวลชนจำนวนมากโดยเฉพาะประชาชนทั้งประเทศ ในเวลาอันรวดเร็ว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ การเผยแพร่ในสื่อมวลชนส่วนหนึ่งต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา ซื้อพื้นที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อย่างไรก็ตามองค์กรสามารถใช้สื่อมวลชนแบบให้เปล่าได้ หากองค์กรนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจแก่การเผยแพร่ หรือบังคับโดยข้อกฎหมาย

ประเภทของสื่อมวลชน

จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราเรียน

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อระบบไฟฟ้า ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์

หน้าที่ของสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ

2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม

3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน

4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้

1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ

2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน

3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา

[แก้ไข] บทบาทสื่อมวลชนในสถานการณ์ปัจจุบัน

สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสับสนและเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนแน่นอน อันเนื่องมาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน มีแนวโน้มซึ่งอาจนำไปสู่ความแตกแยกที่รุนแรงยิ่งขึ้น ผลแห่งสถานการณ์ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความเป็นกังวลมากขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ประชุมหารือร่วมกับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2549

ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่า นอกจากการเข้ามาควบคุมและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนที่มีหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ และโทรทัศน์แล้ว ขณะเดียวกันก็มีความพยายามจะสร้างสื่ออื่นที่รัฐไม่ได้ควบคุมอย่างทั่วถึง อาทิ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อข้อความสั้น (SMS) ซึ่งถือเป็นการสร้างสื่อเทียมที่เครือข่ายนักการเมืองพยายามใช้ประโยชน์สนองตอบเป้าหมายทางการเมืองของตนมากกว่าประโยชน์สาธารณะ จนสร้างความสับสนให้หลงเชื่อว่าสื่อมวลชนมีความแตกแยกเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล กับฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล อันเป็นพฤติกรรมที่เคยเกิดขึ้นและนำไปสู่ความรุนแรงในชาติมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในอดีต

ที่ประชุมขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน จึงมีมติให้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้

1. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสาม มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและการเผชิญหน้าท้าทายของฝ่ายต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความรุนแรงอันจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม

2. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสาม ได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่สำคัญของสื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน ที่จะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ภายใต้สถานการณ์อันสลับซับซ้อน เพื่อนำเสนอความเป็นจริงของปัญหามาเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ให้มากที่สุด

3. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสามตระหนักดีว่า สื่อมวลชนที่ยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างตรงไปตรงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการรายงานเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือการรุมทำร้ายกลุ่มประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันที่หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งผลของการทำหน้าที่ดังกล่าวทำให้สื่อมวลชนตกเป็นเป้าของการข่มขู่คุกคาม การใช้กำลังคนปิดล้อมสำนักพิมพ์ และการกล่าวร้ายทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน โดยนักการเมืองและข้าราชการประจำที่ตกอยู่ใต้อำนาจของนักการเมืองตลอดมา

4. สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นตอกย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทุกองค์กรจะต้องผนึกกำลังกัน ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต บนพื้นฐานของจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และยึดมั่นผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองโดยสันติวิธี


2 ความคิดเห็น: